วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บ้านจำลอง



ในบริเวณสวน  มีบ้านจำลองที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับแต่ครั้งทรงพระเยาว์เป็นเรือนแถวที่จำลองมาเพียง 1 ห้อง  ด้านในบ้านจำลองจัดองค์ประกอบตามหนังสือ  แม่เล่าให้ฟัง  พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กลมหลวงนราธิวาสราชชนครินทร์  ซึ่งคณะอนุกรรมการฝายออกแบบจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ภายในอุทยานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมอบหมายให้นางสาวอัจฉรา  ถาวรมาศ  มัณฑนากร  กรมศิลปากร  ดำเนินการทำหุ้นบ้านจำลอง  นำขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายทอดพระเนตร  เพื่อขอกระบรมราชวินิจฉัย  ในครั้งแรก  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนีมีรับสั่งว่า  “บ้าน”  ที่ทรงเคยประทับนั้นไม่ใหญ่โตเหมือนแบบที่มาขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวาย  เมื่อกรมศิลปากรแก้ไขถูกต้องตามพระราชประสงค์แล้ว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้จัดสร้างอาคารจำลองที่ประทับหลังจากนี้แยกต่างหากอีกหลังหนึ่ง  เนื่องจากแนวคิดเดิมที่จำกำหนดจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์นั้น  สัดส่วนของบ้านไม่ใกล้เคียงกับของเดิม  มุมมองไม่ชัดเจน  “บ้านในหนังสือ แม่เล่าให้ฟังพระนิพนธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์  ซึ่งทรงกล่าวถึงนั้น  “...เมื่อจำความได้แม่ก็อยู่ที่นนบุรีแล้ว  ที่ซอยซึ่งปัจจุบันเป็นซอยวัดอนงค์  “บ้าน”  จะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่ก่อด้วยอิฐ  หลังคาเป็นกระเบื้องและประกอบด้วยหลายชุด  (Unit)  ด้านหนึ่งของ  “บ้าน”  จะเป็นส่วนหนึ่งของ  “บ้าน”  มี 4-5 ชุด  ซึ่งมีคนอยู่  อีกด้านหนึ่งพังไปแล้วและร้าง  “บ้าน”  ที่อยู่นั้นเก่าพอใช้และอยู่ในสถานที่ไม่ดี  เพราะไม่มีการซ่อมแซมเลย  บ้านนั้นเป็นบ้านเช่า  แต่เช่าเพียงกำแพง  ผนังและหลังคา  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไม้เช่นพื้นนั้นผู้เช่านำมาวางเอง...”  และหน้าบ้านมีระเบียง  พื้นไม่ปิดข้างๆ  และมีหลังคามุงจาก  ส่วนนอกก่อนจะถึงถนนเป็นอิฐและจึงเป็นถนน  เมื่อเข้าไปในบ้านบ้านแล้วจะมีห้องโล่ง ๆ  ด้านขวามือมียกพื้นเป็นไม้ทั้งสองห้อง  ห้องพระและห้องประกอบอาชีพของพ่อแม่  ทุกเช้าผู้ใหญ่จะถวายข้าพระพุทธรูปและหลังเที่ยงแม่จะเป็นผู้สวด  “เสสังมังคะลังจายามิ”  เพื่อลาของถวายเพื่อนำของบรรจุอยู่ในถ้วยชามเล็ก ๆ  มากิน  ถัดไปซึ่งมีห้องเป็นห้องนอนและข้างหลังจะมีห้องครัวยาวตลอด  ซึ่งกันด้วยกำแพงนี้มีที่โล่ง ๆ   ซึ่งจะไปถึงได้ถ้าอ้อมไปเพราะทางไม่มีประตูดอก  ในบ้านไม่มีห้องน้ำ  การอาบน้ำนั้นอาบกันที่บ้าน  ตุ่มน้ำจะตั้งที่ระเบียงหรือไปอาบกันที่คลองสมเด็จเจ้าพระยา...
ลักษณะบ้านจำลองที่สร้างขึ้น    มุมหนึ่งของสวนแห่งนี้  ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน  มีชาน  ระเบียงด้านหน้าบ้าน  และด้านข้างปูด้วยไม้  หลังคามุงกระเบื้องดินเผา  ชั้นลดหลังคาด้านหน้ามุงจาก  ผนังด้านข้างกรุด้วยกระจกใส  เพื่อให้ผู้เข้าชมมองเห็นภายในได้  ด้านข้างอาคารมีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ของเดิมไว้  หลังคาจึงเว้นสำหรับต้นไม้ทำลุขึ้นไป  มีทางเข้าบ้าน  ประตูด้านหน้าทางเดียว  เมื่อเข้าไปในบ้านแล้วจะเห็นทางเดินถึงหลังบ้าน  ด้านขวามียกพื้นไม้และใช้ไม้ปิดแบ่งห้องเป็น 3 ตอน  มีห้องพระและห้องทำทองซึ่งเป็นที่ประกอบอาชีพของพระชนกชู  ถัดไปเป็นห้องนอน  ด้านหลังเป็นห้องครัวตลอดกำแพงหลังบ้าน  ภายในบ้านนายสมชาย  ณ นครพนม ภัณฑรักษ์  ผู้รับผิดชอบในการจัดแสดง  ได้จัดหาสิ่งของเครื่องใช้มาจัดแสดงแต่ละห้องตามสภาพความเป็นอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น