วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณะผู้จัดทำ


1.นางสาว พชรวรรณ รุจิพาณิชย์ เลขที่ 8 ชั้น ม.6/9 (คนกลาง )
2.นางสาว ปริณดา แจ้งสุข เลที่ 30 ชั้น ม.6/9 ( คนขวา )
3.นางสาวศิริรัตน์  แห่งศรีสุวรรณ เลที่ 38 ชั้น ม.6/9 (คนซ้าย)




วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มุมหนังสือ เรือนสรรปัญญา(ชั้น ๑ ด้านหลังอาคารศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์)




              มุมหนังสือ เรือนสรรปัญญา เป็นส่วนหนึ่งของอาคารศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)  ลักษณะอาคารเป็นตึก ๒ ชั้นขนาด ๒๐ x ๕ เมตร รูปแบบสถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมจีนที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ ๓ เดิมทีเป็นเรือนครัวของบ้านเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) ปัจจุบันปรับปรุงเป็นมุมหนังสือ สำหรับให้บริการผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมอุทยานฯ และประชาชนทั่วไปได้เข้ามานั่งอ่านหนังสือ ซึ่งได้รวบรวมหนังสือหลากหลายประเภทไว้ให้บริการ
                  มุมหนังสือ  ตั้งอยู่ที่ชั้น ๑ ด้านหลังอาคารศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์(แพ   บุนนาค) ภายในอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี  มุมหนังสือมีนิทานสำหรับเด็ก  ข้อมูลทางวิชาการสำหรับนักเรียน  นักศึกษา  และหนังสือทั่วไปสำหรับประชาชน เหมาะสำหรับนักอ่านและผู้สนใจศึกษาหาความรู้ทุกเพศวัย  ปัจจุบันมีหนังสือกว่า ๔,๐๐๐ เล่ม ซึ่งหนังสือส่วนใหญ่ประชาชนทั่วไป  หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มอบไว้แก่อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนต่อไป  หนังสือดังกล่าวได้จัดแบ่งหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมดิวอี้  เช่น  หนังสือเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงษ์   ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์  ศิลปะ ชีวประวัติ  วรรณกรรม พระไตรปิฎก  แผนที่โบราณ  งานเขียน  ชีวิตคนไทย  นอกจากนี้ยังมีจุลสาร  วารสาร  และนิตยสาร  รายเดือน  รายปักษ์  ให้ได้อ่านกันอีกด้วย  อีกทั้งมีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตไว้ให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น                  
                 ทั้งนี้มุมหนังสือจะเปิดบริการแก่ผู้สนใจเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคมนี้เป็นต้นไป  โดยเปิดบริการทุกวันเสาร์-วันพุธ  ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. หยุดวันพฤหัสบดีและวันศุกร์  ผู้สนใจเข้าใช้บริการสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ๐๒-๔๓๗๗๗๙๙ ๐๒-๔๓๙๐๙๐๒ พิเศษสมัครสมาชิกมุมหนังสือวันนี้เพียง ๓๐ บาทใช้สิทธิ์บริการนาน ๒ ปี
            นอกจากมีหนังสือไว้ให้บริการแล้ว ยังได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับมุมหนังสือด้วย เช่น โครงการหนอนนักอ่าน โครงการประดิษฐ์หนังสือทำมือ เป็นต้น





ปานะศาลา



      เรือนจำหน่ายน้ำดื่ม  น้ำสมุนไพร  ของที่ระลึกอุทยานฯ  และสินค้าจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา  หรือสิ่งของที่ผลิตโดยเจ้าหน้าที่อุทยานฯ และบุคคลในชุมชน

ศาลาแปดเหลี่ยม


     สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสครบ 8 รอบ  วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี  แต่ได้ด่วนสวรรคตก่อนสร้างเสร็จ


บ่อน้ำโบราณ



     เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมกับบ้านเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค)  เป็นบ่อน้ำสำหรับใช้อุปโภคโดยการโพงน้ำ  คือ ใช้ถังน้ำจ้วงน้ำและฉุดขึ้นโดยสาวเชือกที่ผูกติดกับถังน้ำ


อาคารทิมบริวาร



        สถาปัตยกรรมแบบจีนซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของข้าทาสบริวารเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค)

แผ่นหินแกะสลัก






งานแกะสลักหิน  นับเป็นผลงานด้านประติมากรรมที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง  ตั้งอยู่ในบริเวณลานอุทยานต่อจากอาคารบ้านจำลอง  มีจุดเริ่มต้นของการดำริจัดสร้าง  สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ  รพบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ  ไปในพิธีน้อมเกล้าฯ  ถวายพระมหาธาติเจดีย์  นภพลภูมิสิริ  ที่กองทับอากาศจัดสร้างน้อมเกล้าฯ  ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ทรงเจริญพระชนมพรรษา  5  รอบ  วันที่ 12  สิงหาคม  พุทธศักราช 2535    ดอยอินทนนท์  จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อวันที่ มีนาคม พุทธศักราช 2536  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในภาพหินแกรนิตและสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ที่ประทับอยู่โถงพระมหาธาตุเจดีย์  และได้มีพระราชดำริจัดทำภาพหินแกะสลักลักษณะเดียวกันนี้    อุทยานเฉลิมพระเกียตริสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีดังกล่าว  ผู้บัญชาการทหารอากาศจึงได้ของพระราชทานวโรกาส  รับสนองพระราชดำริมาดำเนินการ  โดยมอบหมายให้  พลเอกอากาศ  สมสักดิ์กุศลาลัย  เผฃป็นผู้ทนกองทัพอากาศประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
คณะอนุกรรมการฝ่ายออกแบบและจัดสร้างภาพแกะสลักหิน  โดยมี  หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา  ดิศกุล  เป็นประธานร่วมกันหลายครั้ง  เพื่อพิจารณาถึงรูปแบบรายละเอียดของภาพที่จะแกะสลักโดยการศึกษาค้นคว้า  พร้อมกันนี้คณะทำงานยังได้เดินทางไปศึกษาพื้นที่ทรงงานพัฒนาดอยตุง  พระตำหนักดอยตุง  พื้นที่บางส่วนของภาคเหนือ  เยี่ยมชมการปฏิบัติงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนมาถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์  และได้เข้าเฝ้าฯ  ของพระราชทานแนวพระราชดำริจากสมเด็จเจ้าพระเจ้าพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจินตนาการของผู้ออกแบบจากกรมศิลปากร
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ  ได้เห็นชอบที่จะใช้วัสดุในการแกะสลักเป็นหินทราย  เนื่องจากหินทรายมีเนื้อละเอียด  เมื่อนำมาแกะสลักจะได้ลวดลายที่คมชัด  เนื้อผิวสวยและงายต่อการแกะ  อีกทั้งมีความคงทนไม่แพ้หินแกรนิต  เมื่อได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตามที่เสนอ  หินทรายดังกล่าวนี้กองทัพอากาศรับหน้าที่จัดหาและขนย้ายจากแหล่งหิน  ที่กิ่งอำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา  มายังบริเวณอุทยาน  แผ่นหินทรายสีเขียวมีขนาดกว้าง  1.60  เมตร  ยาว 8 เมตร  หนา 90 เซนติเมตร  ตั้งอยู่บนฐานที่มีความสูง  80  เซนติเมตร  รายละเอียดของภาพที่จะแกะสลักนั้น  คณะกรรมการฯ  เห็นพ้องต้องกันว่า  ควรเป็นภาพที่สะท้อนให้เป็นถึงพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทร่าบรมราชชะนี  ที่ทรงมุ่งมั่นจะบรรเทาความทุกข์ยากอันเกิดจาโรคภัย  ความด้อยโอกาสทางการศึกษา  ความยากจนในถิ่ทุรกันดาร  ตลอดจนการปลูกฝังความรักความเชื่อมั่นในสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  แก่บรรดาพสกนิกร  จากแนวความคิดดังกล่าว นำไปสู่การออกแบบภาพด้านหนึ่งของแผ่นหินเป็นภาพพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นระยะเวลานาน  ได้แก่  สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่หางไกลความเจริญ  บำเพ็ญมาเป็นระยะเวลานาน  ได้แก่  สภาพความเป้นอยู่ของราษฎรในพื้นที่ห่างไกลความเจริญการดำเนินงานของคณะแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) การจัดตั้งโรงเรียนประชาชนชาวเขาไกลคมนาคม  หรือโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและกลางภาพต้นไม้ใหญ่  มีตราอักษรย่อ  พระนามาภิไธย  ส.ว.  ประดับอยู่กิ่งกลาง  เปรียบสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็นเสมือนร่มโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านสาขาปกเกล้าชาวไทยให้อยู่เย็นเป็นสุขมายาวนาน  ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นภาพพลิ้วกระบวนไหวิสาแม่ฟ้าหลวง  บริเวณหน้าพระตำหนักดอยตุง  เพื่อสะท้อนถึงความเทิดทูล  จงรักภัคดี  และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่มีต่อราษฎร
สรุปขั้นตอนการดำเนินงานทำภาพแกะสลักหินทรายโดยจำแนกได้ทั้งสิ้นเป็น 5 ขั้นตอนกล่าวคือ
1.        ขั้นตอนการออกแบบ
2.        ขั้นตอนการจัดจ้างช่างแกะสลัก
3.        ขั้นตอนการจัดเตรียมและขนย้ายหิน
4.        ขั้นตอนการออกแบบต้นแบบ
5.        ขั้นตอนการแกะสลัก
ขั้นตอนที่ 1  การออกแบบคณะอนุกรรมการฝ่ายออกแบบและจัดสร้างภาพหินแกะสลักนั้นได้ดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มโครงการโดยได้จัดประชุมเพื่อระดมแนวความคิดหลักในการออกแบบทรงงานตามโครงการ  โดยได้จัดการประชุมเพื่อระดมแนวความคิดหลักในการออกแบบรวมทั้งการศึกษาค้นคว้าจากพระราชประวัติ  พระราชกรณียกิจตลอดจนการเดินทางไปศึกษาพื้นที่ทรงงานตามโครงการพระราชดำริ  และการได้รับความอนุเคราะห์จากกองบัญชาการตำรวจตะเวณชายแดน  ในการถ่ายทอดเรื่องราว  ประสบการที่ได้ถวายรับใช้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด  เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถจินตนาการภาพได้อย่างชัดเจนดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 2  คณะกรรมการฝ่ายออกแบบและจัดสร้างภาพแกะสลักหินพิจารณาเห็นว่าหากสามารถสลักหินก้อนเดียวได้  จะทำให้ภาพมีความสวยงามและมีศิลปะมากขึ้น  จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้แกะสลักด้วยหินก้อนเดียว  และมีมติให้ร้านศักดิ์ศิลาพานิช  ชลบุรี  เป็น  ควบคุมการแกะสลักหิน  โดยกาองทัพอากาศเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของการควบคุมงานกองทัพอากาศ  จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมาให้ร้านศักดิ์ศฺลาพานิช  เป็นผู้รับจ้างในราคา  1,000,000 บาท  แบ่งการใช้จ่ายเป็นเงิน 4 งวด
งวดที่ เมื่อทำสัญญาและจัดเตรียมหินเสร็จ 300,000 บาท
งวดที่ เมื่อแกะสลักภาพที่ 1 เสร็จภายในวันที่ 30  เมษายน  2538  300,000  บาท
งวดที่ เมื่อแกะภาพที่ เสร็จภายในวันที่ 30  มิถุนายน  2538  300,000 บาท
งวดที่ เมื่อทำงานส่วนที่เหลือเสร็จตามแผน  100,000  บาท
ขั้นตอนที่ 3  การจัดเตรียมหิน  เมื่อคณะอนุกรรมการฯ  ตกลงใจที่จะแกะสลักภาพด้วยหินก้อนเดียวแล้ว  ผู้แทนกองทัพอากาศ  จึงได้นำเสนอคณะเจ้าหน้าที่ของกรมช่างยาทหารอากาศและกรมขนส่งทหารอากาศ  พร้อมด้วยผู้รับเหมาไปสำรวจภาพเหมืองหินหินและเส้นทางการเคลื่อนย้ายเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเตรียมหินและการขนย้ายหินมายังอุทยานฯ  ก่อนที่จะทำสัญญาจ้าง  จากการสำรวจพบว่า
สภาพของเหมืองหินอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านไทยสามัคคี  กิ่งอำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา  เป็นหินใหญ่มีส่วนเป็นลานหินพ้นเนินดินออกมาประมาณ 15 X 10 เมตร  สูงประมาณ 2.50 เมตร  ซึ่งมีขนาดใหญ่พอ  และได้คำนวณหาน้ำหนักของหินขนาด 8.20 X 1.70X 0.90  เมตร  แล้ว  จะหนักประมาณ 34  ตัน  การตัดหินทำได้  2  วิธี  คือ  การเจาะหินเป็นแนวตามขนาดที่ต้องการดีดหินออกจากกัน  ส่วนอีกวีหนึ่งนั้น  ตัดโดยใช้สายพานเพชรตัด  การตัดโดยวิธีแรกจะใช้เวลาประมาณ  3  เดือน  ค่าใช้จ่ายถูกมาก  แต่ไม่แน่ใจว่าแผ่นหินที่ตัดออกมานั้นจะมีการร้าวหรือไม่ส่วนการตัดโดยใช้สายสะพานเล็กนั้น  จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน  ผู้รับเหมาจะต้องเสียค่าเช่าเครื่องตัดและจ้างเจ้าหน้าที่เป็นเงิน  180,000  บาท  แต่หินที่ตัดจะเรียบ  มีโอกาสที่จะร้าวจากการตัดน้อย  และสามารถตรวจดูรอยร้าวได้ด้วยสายตาได้ง่ายกว่าวิธีแรก  การตัดหินทั้ง 2 วิธี  จะต้องเปิดหน้าหินด้านข้างและจะต้องทำทางให้รถพ่วงแคร่ต่ำระวางบรรทุกไม่ต่ำว่า 40 ตัน  ลงไปบรรทุกหิน  ทางในช่วงนี้จะมีความยาวประมาณ  100  เมตร  ความลาดชันประมาณ 20  องศา  การยกหินขึ้นบรรทุกรถ  จะต้องให้รถยกขนาด 45 ตัน 2 คัน  ยกหัวท้าย  เนื่องจากพื้นที่จำกัด  รถยกยื่นงวงออกไปมาก  ใช้คันเดียวจะไม่ปลอดภัย
สภาพเส้นทางที่แยกจากทางหลวงสายกบินทร์บุรี นครราชสีมา  เข้าไปยังเหมืองหิน  เป็นทางสาธารณะระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร  ผิวจราจรลาดยาวถึงหมู่ไทยสามัคคี  จากนั้นเป็นถนนลูกรังระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร  มีสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้างลำรางสาธารณะอยู่ 1 แห่ง  ขณะทำการสำรวจในลำรางแห้ง  แต่ดินยังเหลวอยู่  จากการสอบถามผู้ใหญ่บ้านทราบว่า  สะพานรับน้ำหนังได้ไม่เกิน 25 ตัน  แต่มีพื้นที่ที่สามารถทำทางเบี่ยงได้  โดยจะต้องปรับแต่งเสริมความแข็งแรง  พื้นที่ช่วงที่ผ่านลำรางน้ำเล็กน้อยและการดำเนินการให้เสร็จในเดือนกุมภาพันธ์เพราในเดือนมีนาคมมักจะมีฝนตก  ทำให้ใช้ทางเบี่ยงไม่ได้ไปจนถึงเดือนเมษายน
เพื่อให้ได้หินที่มั่นใจว่าจะไม่มีรอยร้าวและสามารถเคลื่อนย้ายมายังอุทยานฯได้  ในช่วงเวลาที่สามารถใช้ทางเบี่ยงได้  จึงได้ทำความตกลงให้ผู้รับเหมาตัดหินด้วยการใช้สายสะพานเพชร  ในราคาที่เสนอไว้เดิม  และให้กรมช่างโยธาทหารอากาศ  ทำการปิดหน้าดินและทำทางให้รถพ่วงระวางบรรทุก  40  ตัน  ลงไปบรรทุกหิน  รวมทั้งทำทางเบี่ยงให้มีความแข็งแรงและปลอดภัยพร้อมทั้งขอให้กองบิน 1 ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ตัดและการขนย้ายหินเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติและขอให้จัดบรรทุกน้ำ 1 คัน  สำหรับใช้หล่อเลี้ยงระบายความร้อนสายพานตัดหินและบริการแก่ชาวบ้านที่กำลังขาดแคลนน้ำสำหรับการบริโภค  การตัดหินและการเตรียมพื้นที่และเส้นทางสำหรับการเคลื่อนย้ายหินเสร็จสมบูรณ์  พร้อมที่จะทำการเคลื่อนย้ายได้ตั้งแต่  วันที่ 31  มกราคม  พุทธศักราช 2538  เป็นต้นไป
การเคลื่อนย้ายหินมีความยุ่งยากพอสมควร  เนื่องจากหินมีความยาวถึง 8 เมตร  หนักถึง 35 ตัน  ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้ทางเบี่ยง  และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ  ในเวลากลางคืน  เมื่อถึงทางเข้าอุทยานต้องถ่ายหินบรรทุกที่มีขนาดเล็กลงเนื่องจากทางเข้าเป็นซอยแคบ  มีอาคารปลูกชิดขอบทาง  และเมื่อเข้าถึงอุทยานฯแล้ว  การที่จะเคลื่อนย้ายหินเข้าไปตั้งบนแท่นฐานมีวิธีปลอดภัยเพียงวิธีเดียว  คือ  ต้องให้รถบรรทุกไปได้ถึงบริเวณแท่นฐาน  แล้วใช้รถยกยกหินนั้นวางบนแท่นฐานจึงต้องทุบรั้วด้านข้างออก 2 ช่อง  และทำถนนให้รถบรรทุกหินและรถยกเข้าถึงฐานได้  โดยไม่ก่อความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ  แต่เมื่อเคลื่อนย้ายหินในอุทยานในเดือน  กุมภาพันธ์  2538  แท่นฐานยังก่อสร้างไม่เสร็จ  จึงต้องรอยกหินไว้หน้าอุทยานจนถึงวันที่ มีนาคม  2538  จึงได้เคลื่อนย้ายขึ้นติดตั้งเสร็จ  โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือได้อย่างดีมาก
รถยกเข้าอุทยานได้รับความปลอดภัย  นอกจากนั้นยังรับการสนับสนุนจากกรมช่างโยธาทหารอากาศการขนส่งทหารอากาศและกองบิน ในการทำทางเบี่ยงเสริมความเข็งแรงของทางเบี่ยงในช่วงข้ามลำรางด้วยเหล็กปูสนามบิน  ร่วมวางแผนและคำนวณการเคลื่อนย้ายด้วยความละเอียดลอบคอบ  คณะอนุกรรมการณ  มีความประทับใจในการเข้าร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนเป็นอย่างยิ่ง
ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำภาพต้นแบบ  ด้วยการปั้มภาพด้วยดินเหนียวของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรประกอบด้วยช่างปั้น  ได้แก่  นายโสพิศ  พุทธรักษ์  ประติกากร  นายภาดร  เชิดชู  ประติกากร  และนายประสพสุข  รัตน์ใหม่  ประติมากร  อยู่ในความควบคุมของนายชิน  ประสงค์  ผู้อำนวยการส่วนประติมากรรม  ทั้งนี้ได้ดำเนินการปั้นขนาดเท่าจริงทีละก้านที่หินเหนียวที่มีความละเอียดเป็นพิเศษ  ขนาดเท่าจริงแต่เดือนพฤศจิกายน  2537  โดยเริมจากกระบวนการไหว้สาแม้ฟ้าหลวงก่อน  เมื่อเสร็จด้านแรกจึงเริ่มด้านที่สองในเดือนมกราคม  2538  ทั้งนี้เวลาปั้นแบบเท่าจริง
หลังจากนั้นแบบนูนสูงด้วยดินเหนียวเสร็จ   จึงหล่อต้นแบบด้วยปูนปลาสเตอร์  ทำเป็นแม่พิมพ์สำหรับกรมวิธีการหล่อปูนปลาสเตอร์  ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ต้องให้ความละเอียดเป็นพิเศษ  เนื่องจากชิ้นงานมีขนาดใหญ่  ก่อนการหล่อปูนจะต้องแบ่งภาพออกเป็นสามส่วน   โดยการกั้นแผ่นสังกะสีชนิดบางให้พอดีกับรอยต้องของภาพการที่ภาพมีรายละเอียดซับซ้อน  จึงจำเป็นต้องให้เทคนิค  กล่าวคือ  การผสมสีลงไปในการหล่อปูนชั้นแรกเพื่อเป็นจุดสังเกตตอนทุบแบบพิมพ์ว่าใกล้ถึงเนื้อปูนที่เป็นต้นแบบ  ส่วนลักษณะปูนที่ใช้หล่อนี้ต้องผสมเหลวพอควร  เพราเมื่อสะบัดปูนไปที่ภาพต้นแบบ  ปูนจะเกาะติดรายละเอียดทุกส่วนของภาพได้อย่างทั่วถึง
ลำดับต่อไปจึงเพิ่มความหนาของแม่พิมพ์  จนกระทั่งแม่พิมพ์มีความหนาได้ที่  แล้วทำโครงเหล็กยึดแม่พิมพ์แข่งแรงแน่นหนา  นำแม่พิมพ์แต่ละส่วนมาหล่อปูนปลาสเตอร์ทำรูปต้นแบบ  และนำทั้งสามส่วนมาประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน  เพื่อใช้เป็นแบบแกะสลัก
ขั้นตอนที่ 5  การแกะสลักหิน  เป็นฝีมือช่างจากร้านศักดิ์ศิลาพานิช  จังหวัดชลบุรี  ซึ่งกองทัพอากาศดำเนินการจัดหาและจ้างมาดำเนินการภายใต้การควบคุมกันระหว่างกองทัพอากาศและกรมศิลปากร  เจ้าหน้าที่ได้ขนย้ายแม่แบบที่หล่อจากปูนปาสเตอร์มาประกอบเข้าเป็นแผ่นเดียวกัน    บริเวณอุทยานฯ  ซึ่งเป้ฯสถานที่ดำเนินการแกะสลักหิน  พร้อมทั้งทาสีแม่แบบให้เข้มขึ้นเพื่อช่างแกะหินสามารถสังเกตรายละเอียดของภาพได้ชัดเจน  ต่อจากนั้นนำดินน้ำมันเปิดส่วนรายละเอียดต่าง ๆ  ของแม่แบบ  ทั้งนี้เพราะให้ง่ายต่อกาวัดสเกลและการแกะแบบร่างอย่างคร่าว ๆ  ก่อน
อนึ่ง  การทำงานในขั้นตอนที่ห้านี้  ได้รับความอนุเคราะห์จากกอาจารย์สมชาย  เถาทอง  ปฏิมากรผู้มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานการแกะสลักหินที่มีชื่อเสียงเป็นที่ปรึกษาช่วยดูแล  ควบคุมการทำแบบและวางแผนการทำงาน  ดังนี้
1.        ปรับระดับความลึกของภาพ  เป็น 3 ระดับ  การแกะสลักแผ่นหินที่ขนาดใหญ่และมีความยาวเช่นนี้  จำเป็นต้องตั้งวางแผ่นหินบนฐานตั้งแสดงจริงแล้วลงมือแกะสลักตามแนวที่ตั้ง   เริ่มจากการขยายเส้นขนานเท่าจริงบนกระดาษ  เพื่อทำเป็นแม่พิมพ์สเตนซิล  เจาะส่วนของภาพที่ลึกที่สุดออกทาบแม่พิมพ์บนหน้าหินแล้วพ่นสีสเปรย์ในส่วนที่เจาะไว้  เสร็จแล้วช่างแกะสลักหินส่วนที่มีสีพ่นออกมาวัดดูให้ได้ความลึกเท่ากันกับแบบปูนปั้น  และใช้แม่พิมพ์สเตยซิลที่เจาะส่วนของภาพที่มีระดับความลึกรองลงมา 2 ระดับ  ทำเช่นเดียวกันนี้ให้ได้ระดับความลึกของภาพเป็น 3 ระดับ  เมื่อเสร็จแล้วจะมองเห็นเค้าโครงและระดับความตื้นของกลุ่มภาพได้ชัดเจน
2.        ตกแต่งส่วนภาพในแต่ละกลุ่มให้เหมือนแบบ  เมื่อภาพสลักมีความลึกได้ระดับแล้วจะเกิดกลุ่มของภาพขึ้น  ในขั้นตอนนี้ได้ใช้แม่พิมพ์สเตนซิล  เจาะส่วนที่เป็นรูปร่างและทำท่าทางของภาพเป็น 2 ชุด  คือ  ชุดหนึ่งให้สลักภาพส่วนที่ลึกไปแนวซ้าย  และอีกส่วนหนึ่งให้สลักภาพส่วนที่ลาดลึกไปในแนวขวาเพื่อให้ได้ภาพคนหรือวัตถุแต่ละสิ่งเป็นรูปเหลี่ยมมีทิศทางและสัดส่วนที่ถูกต้องของภาพและมีเนื้อหินพอสำหรับแกะรายละเอียด  ในขั้นตอนนี้เป็นการรักษาไม่ให้รายละเอียดของคนและอิริยาบถต่างๆ  ผิดจริงไป  ซึ่งสามารถควบคุมการแกะสลักได้เป็นอย่างดี  เมื่อช่างเกะสลักมีความเข้าใจในการทำงานทั้ง 2 ขั้นนี้แล้ว  ต่อมาการสลักภาพอีกด้านหนึ่งได้ลดขั้นตอนที่ 2 ออกโดยไม่ต้องทำแม่พิมพ์สเตนซิล  แต่ใช้ช่างเขียนเขียนลงบนหินได้เลย  และใช้ดินน้ำมันปิดทับรายละเอียดภาพต้นแบบให้เห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเป็นแบบให้ช่างแกะสลัก  ทำให้ลดเวลาการทำงานลงมาได้มาก
3.        ตกแต่ลวดลายขั้นตน  เมื่อกลุ่มภาพมีสัดส่วนและท่าทางถูกต้องแล้ว  ช่างเขียนจะเขียนลายเส้นหน้าตา  เสื้อผ้า  รายละเอียดอื่น ๆ  ลงบนหิน  เพื่อให้ช่างแกะสลักได้สลักตาม  ในขั้นตอนนี้ช่างเขียนจำต้องทำงานควบคู่ไปกับช่างสลักเพื่อคอยเติมลายเส้น  เมื่อช่างสลักได้สลักลบออกไป  วีการทำงานควบคู่กันไปในหน้างาน  ทำให้ช่างสลักสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง  เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ภาพทั้งหมดสมบูรณ์ถึง 80%
4.        การตกแต่งรายละเอียดขั้นสุดท้าย   เป็นการเก็บร่ายละเอียด  เช่น  หน้าตาของคน  ซึ่งได้ให้ช่างสลักที่มีฝีมือเพียง 2 คน  ทำการแกะสลัก  สรุปได้ว่า  การทำงานใน 4 ขั้นตอนนี้  เมื่อสำเร็จ  ภาพสลักทั้งภาพฝีมือการสลักที่สม่ำเสมอเหมือนกับงานที่ทำด้วยช่างเพียงคนเดียว  ต่อจากนั้นจึงตกแต่งฐานด้วยการแกะลวดลายให้เรียบร้อยสวยงาม
เมื่อการแกะสลักภาพทั้งสองด้านลุล่วง  ที่ประชุมคณะกรรมการฯ  ได้มีมติเป็นชอบให้แกะสลักสีสันแผ่นหินทั้งสองด้าน  ด้านหนึ่งแกะอักษรย่อพระปรมาภิไธย  ภ.ป.ร.  ภายใต้พระมหาภิชัยมงกุฎ  มีรัศมีและเลข 9 ด้านล่าง  แกะสลักหินเป็นคำประพันธ์ร้อยกรองเกี่ยวกับแนวพระราชดำริในการจัดสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ  แห่งนี้  ซึ่งประพันธ์โดยนายชำนาญ  แย้มผกา  วิทยากรพิเศษ  กองการในพระองค์  สำนักราชเลขาธิการดังนี้
โปรดเกล้าฯ  ให้อนุรักษ์เป็นหลักฐาน
และสร้างเป็นอุทยานโดยถวิล
เฉลิมพระเกียรติพระราชชนนีศรีนครินทร์
ปองประโยชน์ทั้งสิ้นแก่ปวงชน
และเพื่อผู้สนใจใคร่ศึกษา
พระราชประวัติบรรดาอนุสนธิ์
พระราชกิจสฤษฎิ์ไว้ในสากล
ดั่งรอยพระบาทยุคอันฝากไว้
ขอให้อุทยานสถานนี้
อันเป็นที่เคยประทับในสมัย
จงสำเร็จประโยชน์แท้แก่ชาวไทย
เฉลิมพระเกียรติคุณไปนิรันดร

                                               21 ตุลาคม  พุทธศักราช 2538
ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้น  แกะสลักอักษรพระนามภิไธย  ส.ว.  ด้านล่างแกะสลักคำประพันธ์ร้อยกรองอาเศียรวาทเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี  จากการประพันธ์ของ  ท่านผู้หญิงสมโรจน์  สวัสดิกุล ณ อยุธยา
แม่ฟ้าหลวงดวงประทีปชาวป่าเขา
และเหล่าทวยหาญไทยในไพรเถื่อน
ไม่มีวันที่พระจะลืมเลือน
ผ่องเพื่อผู้ทุกข์ยากลำบากลำบน
ทรงสระสิ่งสินยอมสิ้นสุข
เสด็จประเทาทุกข์ไทยไม่เบื่อบ่น
พระคุณเทียบแผ่นพื้นภูวดล
เหลือล้นถ้อยคำร่ำพรรณนา
บัดนี้โอ้อนิจจาแม่ฟ้าหลวง
เสร็จทิ้งลูกทั้งปวงไว้ใต้หล้า
แม้ชาติหน้ามีจริงดั่งวาจา
ของเถิดใหม่ใต้บาทาแม่ฟ้าเทอญ
ที่ของล่างสุดแกะสลักเป็นตรากองทัพอากาศ  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการทำภาพแกะสลักหินทราย  ประติการกรรมชิ้นสำคัญในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ  มาโดยตลอด  เมื่อกองทัพอากาศได้ทำการเก็บงาน  ทำความสะอาดแผ่นหินแกะสลักอีกครั้งหนึ่งแล้ว  กรมศิลปากรจึงดำเนินการอาบน้ำยาเคมีรักษาแผ่นหินให้มีความคงทนอีกชั้นหนึ่ง

ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)





        เป็นอาคารโบราณ ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่จากอาคารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และได้ตั้งชื่ออาคารตามชื่อของท่านเจ้าของเดิคือ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อจัดแสดงงานศิลปะหมุนเวียนทั้งในตัวอาคารและพื้นที่กลางแจ้งและจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางศิลปะอย่างต่อเนื่องโดยจะเปิดกว้างสำหรับ ศิลปินทั่วไปในการใช้สถานที่แห่งนี้แสดงออกถึงผลงานทางศิลปะ



บ้านจำลอง



ในบริเวณสวน  มีบ้านจำลองที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับแต่ครั้งทรงพระเยาว์เป็นเรือนแถวที่จำลองมาเพียง 1 ห้อง  ด้านในบ้านจำลองจัดองค์ประกอบตามหนังสือ  แม่เล่าให้ฟัง  พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กลมหลวงนราธิวาสราชชนครินทร์  ซึ่งคณะอนุกรรมการฝายออกแบบจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ภายในอุทยานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมอบหมายให้นางสาวอัจฉรา  ถาวรมาศ  มัณฑนากร  กรมศิลปากร  ดำเนินการทำหุ้นบ้านจำลอง  นำขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายทอดพระเนตร  เพื่อขอกระบรมราชวินิจฉัย  ในครั้งแรก  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนีมีรับสั่งว่า  “บ้าน”  ที่ทรงเคยประทับนั้นไม่ใหญ่โตเหมือนแบบที่มาขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวาย  เมื่อกรมศิลปากรแก้ไขถูกต้องตามพระราชประสงค์แล้ว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้จัดสร้างอาคารจำลองที่ประทับหลังจากนี้แยกต่างหากอีกหลังหนึ่ง  เนื่องจากแนวคิดเดิมที่จำกำหนดจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์นั้น  สัดส่วนของบ้านไม่ใกล้เคียงกับของเดิม  มุมมองไม่ชัดเจน  “บ้านในหนังสือ แม่เล่าให้ฟังพระนิพนธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์  ซึ่งทรงกล่าวถึงนั้น  “...เมื่อจำความได้แม่ก็อยู่ที่นนบุรีแล้ว  ที่ซอยซึ่งปัจจุบันเป็นซอยวัดอนงค์  “บ้าน”  จะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่ก่อด้วยอิฐ  หลังคาเป็นกระเบื้องและประกอบด้วยหลายชุด  (Unit)  ด้านหนึ่งของ  “บ้าน”  จะเป็นส่วนหนึ่งของ  “บ้าน”  มี 4-5 ชุด  ซึ่งมีคนอยู่  อีกด้านหนึ่งพังไปแล้วและร้าง  “บ้าน”  ที่อยู่นั้นเก่าพอใช้และอยู่ในสถานที่ไม่ดี  เพราะไม่มีการซ่อมแซมเลย  บ้านนั้นเป็นบ้านเช่า  แต่เช่าเพียงกำแพง  ผนังและหลังคา  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไม้เช่นพื้นนั้นผู้เช่านำมาวางเอง...”  และหน้าบ้านมีระเบียง  พื้นไม่ปิดข้างๆ  และมีหลังคามุงจาก  ส่วนนอกก่อนจะถึงถนนเป็นอิฐและจึงเป็นถนน  เมื่อเข้าไปในบ้านบ้านแล้วจะมีห้องโล่ง ๆ  ด้านขวามือมียกพื้นเป็นไม้ทั้งสองห้อง  ห้องพระและห้องประกอบอาชีพของพ่อแม่  ทุกเช้าผู้ใหญ่จะถวายข้าพระพุทธรูปและหลังเที่ยงแม่จะเป็นผู้สวด  “เสสังมังคะลังจายามิ”  เพื่อลาของถวายเพื่อนำของบรรจุอยู่ในถ้วยชามเล็ก ๆ  มากิน  ถัดไปซึ่งมีห้องเป็นห้องนอนและข้างหลังจะมีห้องครัวยาวตลอด  ซึ่งกันด้วยกำแพงนี้มีที่โล่ง ๆ   ซึ่งจะไปถึงได้ถ้าอ้อมไปเพราะทางไม่มีประตูดอก  ในบ้านไม่มีห้องน้ำ  การอาบน้ำนั้นอาบกันที่บ้าน  ตุ่มน้ำจะตั้งที่ระเบียงหรือไปอาบกันที่คลองสมเด็จเจ้าพระยา...
ลักษณะบ้านจำลองที่สร้างขึ้น    มุมหนึ่งของสวนแห่งนี้  ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน  มีชาน  ระเบียงด้านหน้าบ้าน  และด้านข้างปูด้วยไม้  หลังคามุงกระเบื้องดินเผา  ชั้นลดหลังคาด้านหน้ามุงจาก  ผนังด้านข้างกรุด้วยกระจกใส  เพื่อให้ผู้เข้าชมมองเห็นภายในได้  ด้านข้างอาคารมีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ของเดิมไว้  หลังคาจึงเว้นสำหรับต้นไม้ทำลุขึ้นไป  มีทางเข้าบ้าน  ประตูด้านหน้าทางเดียว  เมื่อเข้าไปในบ้านแล้วจะเห็นทางเดินถึงหลังบ้าน  ด้านขวามียกพื้นไม้และใช้ไม้ปิดแบ่งห้องเป็น 3 ตอน  มีห้องพระและห้องทำทองซึ่งเป็นที่ประกอบอาชีพของพระชนกชู  ถัดไปเป็นห้องนอน  ด้านหลังเป็นห้องครัวตลอดกำแพงหลังบ้าน  ภายในบ้านนายสมชาย  ณ นครพนม ภัณฑรักษ์  ผู้รับผิดชอบในการจัดแสดง  ได้จัดหาสิ่งของเครื่องใช้มาจัดแสดงแต่ละห้องตามสภาพความเป็นอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 6

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


อาคารพิพิธภัณฑ์

     อาคารพิพิทธ์ภัณฑ์หลังที่ ๑

จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประมวลเหตุการณ์ ในการพระราชพิธีพระบรมศพ พระตำหนัก วัง ตลอดจนที่ประทับครั้งทรงพระเยาว์ และประวัติขุมชนย่านวัดอนงคารามชุมชนประวัติศาสตร์ที่ผู้คนหลายเชื้อชาติ ศาสนาทั้งไทย จีน อิสลาม และลาวอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 
 เมื่อเข้าสู่อาคาร  ซึ่งมีทางเดินเข้าออกทางเดียว  ตรงกลางจัดแสดงพระสาทิสลักษณ์ครึ่งพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เป็นงานจิตกรรมฝีมือเรือเอกอุดม  ฑีฆทรัพย์
ด้านซ้ายแนวผนังอาคาร  จัดแสดงภาพเกี่ยวกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนีตั้งแต่ทรงพระเยาว์  จากชีวิตครอบครัวสามัญชนเลื่อนฐานันดรศักดิ์จนเป็นพระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงสองพระองค์
ด้านขวา  จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่  ศาสนสถานและบุคคลสำคัญ  บริเวณใกล้เคียงกับบ้านเดิมเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงค์พระชนม์ชีพแต่ทรงพระเยาว์ในสถานที่ซึ่งเป็นชุมชนวัดอนงคาราม  จนเลื่อนฐานันดรศักดิ์ประทับนพระตำหนัก  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผนังสกัดด้านในสุด  จัดแสดงเกี่ยวกับงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีทั้งรูป  สิ่งของเครื่องใช้ในพระราชพิธี  หนังสือที่ระลึก  ของสำคัญที่ได้รับพระราชทานมาจัดแสดง

      อาคารพิพิทธ์ภัณฑ์หลังที่ ๒

     จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ  และพระจริยาวัตรที่สำคัญ ๆ  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนีที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชน  จัดเป็นตู้บอร์ดภาพสลับกับภาพโปร่งแสง  และตู้แสดงฝีมืองานพระหัตถ์  ของใช้ส่วนพระองศ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ซึ่งได้รับพระราชทานมาจัดแสดง  มีคำอธิบายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ชิดผนังอาคารทั้งซ้าย  ขวา  เป็นภาพแสดงในตู้บอร์ด  และภาพโปร่งแสง  เป็นเรื่องงานเซรามิคงานปั้นพระพุทธรูป  งานดอกไม้แห้ง  งานปัก  งานเขียนหนังสือศาสนาที่พระองค์ท่านโปรดให้พิมพ์  ตู้แสดงของสำคัญซึ่งได้พระราชทานมาจัดแสดง
เมื่อเดินเข้าสู่อาคาร  ซึ่งมีทางเข้าออกทางเดียว  มีเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสที่จอภาพเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและภาพเกี่ยวกับอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมา .... สวนสมเด็จย่า

โครงการและประวัติความเป็นมาของสวนสมเด็จย่า 


สืบเนื่องจาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสิ่งให้สำรวจสถานที่ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เคยประทับเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  บริเวณหลังวัดอนงคาราม  เขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร  และสำรวจชุมชนในท้องที่บริเวณนั้น  ซึ่งข่อนข้างจะแตกต่างจากชุมชนอื่น  เพราประกอบไปด้วยชาวไทย  จีน  มุสลิม  และลาว  เคยอาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้นอย่างสงบสุขมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  แต่ปัจจุบันกิจกรรมที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนรวมทั้งอาคารบ้านเรือนในชุมชนนับวันเปลี่ยนแปรไป  สมควรจะได้ศึกษาเพื่อจะได้ฟื้นฟู  หรืออนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
ผู้รับสนองพระบรมราชดำริได้ทำการสำรวจ  สืบทราบตำแหน่งที่แน่นอนของบ้านที่สมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชะนีประทับเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  ตามหนังสือ  “แม่เล่าให้ฟัง”  พระนิพนธ์ของพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กลมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าบ้านดังกล่าวได้ถูกรื้อไปแล้ว  โดยมีตึกแถวสองชั้นขึ้นมาแทนที่  คณะผู้สำรวจจึงทำการสำรวจในบริเวณโดยรอบ  ได้พบอาคารตึกแถวชั้นเดียวในบริเวณอาคารกลุ่มที่ทรุดโทรมมาก  ตามลักษณะของอาคารแถวนี้มีรูปร่างใกล้เคียงกับ  “บ้าน”  ในหนังสือ  “แม่เล่าให้ฟัง”  จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ
ในระหว่างคณะที่สำรวจได้ทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว  เจ้าของที่ดิน  คือ  นายแดง  นานาและนายเล็ก  นานา  ทราบเรื่องจึงน้อมเกล้าฯ  ถวายที่ดินบริเวณนั้นแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพื้นที่ ไร่  ตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ตั้งบ้านของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี  (แพ  บุนนาค)  อธิบดีกรมพระคลังสินค้า  ในรัชกาลที่ เป็นอาคารตึกแถวปนไม้ขนาดใหญ่ 2 ชั้น  จำนวน หลังตั้งขนานกัน  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ล้อมรอบตึกแถวบริเวณเรือนบริวารชั้นเดียวทางด้านขวาและด้านหลังของตึกใหญ่  ส่วนด้านซ้ายเป็นตึก 2 ชัน  ลักษณะที่ล้อมลอบนี้ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมแบบจีน  อาจเก่าแก่ถึงสมัยรัชกาลที่ ซึ่งเป็นช่วงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต  บุนนาค)  บิดาเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ)  เป็นผู้ปกครองชุมชนย่านนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานให้อนุรักษ์  และพัฒนาให้เป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี  เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นย่านประวัตศาสตร์ใกล้เคียงกับสถานที่ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์  โดยโปรดให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นเจ้าของโครงการ  นายนนท์  บูรณสมภพ  เป็นผู้ออกแบบและบริหารโครงการ  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง  โดยมี  กรมศิลปากร  เป็นผู้ควบคุมความถูกต้องทางด้านประวัตศาสตร์และศิลปกรรม
ผู้รับสนองประราชดำริได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน  ตามพระราชดำริไว้ดังนี้
1.   ให้เป็นสวนสาธารณระดับชุมชน  สำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยในละแวกใกล้เคียง  และผู้สนใจได้พักผ่อนหย่อนใจ
2.    ให้อนุรักษ์อาคารสำคัญไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นการเฉลิมพระเกียตริสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี  โดยภายในอาคารจัดเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์แสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี    รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวไทย  จีน  มุสลิม  อนุรักษ์ส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ  เช่น  ซุ้มประตูทางด้านเข้าที่ปรักหักพังจะคงรูปเดิมไว้  โดยเสริมความมั่นคงให้คงทนแข็งแรง  อนุลักษณ์ต้นไม่ใหญ่ที่มีอยู่ในบริเวณ  เช่น  ต้นโพธิ์  ต้นไทร  ต้นชงโค
3.  จัดพื้นที่ของสวนให้เป็นพื้นที่โล่งกว้างมากที่สุด  โดให้ที่โล่งเป็นลานพักผ่อน  ปลูกไม้เลื้อยคลุมซุ้มทางเดิน  เพื่อสนองความต้องการของประชาชนที่อาสักอยู่ในบริเวณที่แออัด
4.  เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพันธุ์พฤกษชาติของต้นไม้และดอกไม้ใบนานชนิด
5.  จัดวางระเบียบการสัญจรไปมาในสวนสาธารณะให้ประชาชนใช้ได้โดยสะดวก


สถานที่ตั้ง
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600
โทร : 0-2437-7799, 0-2439-0902
โทรสาร : 0-2437-1853
การเดินทาง
รถประจำทางที่ผ่าน / Bus No : สาย 6, 42, 43
ทางเรือ (เฉพาะเรือท่องเที่ยว) : ขึ้นที่ท่าเรือศาลาทรงจีน (ศาลเจ้าพ่อกวนอู)
By Chao Phraya Tourist Boat - at The Princess Mother Memmorial Park Pier
การเยี่ยมชม
ภายในอุทยานฯ เปิด 06.00-18.00 น. ทุกวัน
พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เปิด 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
มุมหนังสือ เปิดเวลา  08.30-16.30  น.  ( หยุดวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ )
***สำหรับการเข้าชมนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย แต่สำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ที่มีความประสงค์เยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ จะมีวิทยากรบรรยายและนำชมสถานที่