วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมา .... สวนสมเด็จย่า

โครงการและประวัติความเป็นมาของสวนสมเด็จย่า 


สืบเนื่องจาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสิ่งให้สำรวจสถานที่ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เคยประทับเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  บริเวณหลังวัดอนงคาราม  เขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร  และสำรวจชุมชนในท้องที่บริเวณนั้น  ซึ่งข่อนข้างจะแตกต่างจากชุมชนอื่น  เพราประกอบไปด้วยชาวไทย  จีน  มุสลิม  และลาว  เคยอาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้นอย่างสงบสุขมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  แต่ปัจจุบันกิจกรรมที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนรวมทั้งอาคารบ้านเรือนในชุมชนนับวันเปลี่ยนแปรไป  สมควรจะได้ศึกษาเพื่อจะได้ฟื้นฟู  หรืออนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
ผู้รับสนองพระบรมราชดำริได้ทำการสำรวจ  สืบทราบตำแหน่งที่แน่นอนของบ้านที่สมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชะนีประทับเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  ตามหนังสือ  “แม่เล่าให้ฟัง”  พระนิพนธ์ของพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กลมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าบ้านดังกล่าวได้ถูกรื้อไปแล้ว  โดยมีตึกแถวสองชั้นขึ้นมาแทนที่  คณะผู้สำรวจจึงทำการสำรวจในบริเวณโดยรอบ  ได้พบอาคารตึกแถวชั้นเดียวในบริเวณอาคารกลุ่มที่ทรุดโทรมมาก  ตามลักษณะของอาคารแถวนี้มีรูปร่างใกล้เคียงกับ  “บ้าน”  ในหนังสือ  “แม่เล่าให้ฟัง”  จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ
ในระหว่างคณะที่สำรวจได้ทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว  เจ้าของที่ดิน  คือ  นายแดง  นานาและนายเล็ก  นานา  ทราบเรื่องจึงน้อมเกล้าฯ  ถวายที่ดินบริเวณนั้นแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพื้นที่ ไร่  ตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ตั้งบ้านของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี  (แพ  บุนนาค)  อธิบดีกรมพระคลังสินค้า  ในรัชกาลที่ เป็นอาคารตึกแถวปนไม้ขนาดใหญ่ 2 ชั้น  จำนวน หลังตั้งขนานกัน  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ล้อมรอบตึกแถวบริเวณเรือนบริวารชั้นเดียวทางด้านขวาและด้านหลังของตึกใหญ่  ส่วนด้านซ้ายเป็นตึก 2 ชัน  ลักษณะที่ล้อมลอบนี้ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมแบบจีน  อาจเก่าแก่ถึงสมัยรัชกาลที่ ซึ่งเป็นช่วงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต  บุนนาค)  บิดาเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ)  เป็นผู้ปกครองชุมชนย่านนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานให้อนุรักษ์  และพัฒนาให้เป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี  เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นย่านประวัตศาสตร์ใกล้เคียงกับสถานที่ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยประทับตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์  โดยโปรดให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นเจ้าของโครงการ  นายนนท์  บูรณสมภพ  เป็นผู้ออกแบบและบริหารโครงการ  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง  โดยมี  กรมศิลปากร  เป็นผู้ควบคุมความถูกต้องทางด้านประวัตศาสตร์และศิลปกรรม
ผู้รับสนองประราชดำริได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน  ตามพระราชดำริไว้ดังนี้
1.   ให้เป็นสวนสาธารณระดับชุมชน  สำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยในละแวกใกล้เคียง  และผู้สนใจได้พักผ่อนหย่อนใจ
2.    ให้อนุรักษ์อาคารสำคัญไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นการเฉลิมพระเกียตริสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี  โดยภายในอาคารจัดเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์แสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชะนี    รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวไทย  จีน  มุสลิม  อนุรักษ์ส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ  เช่น  ซุ้มประตูทางด้านเข้าที่ปรักหักพังจะคงรูปเดิมไว้  โดยเสริมความมั่นคงให้คงทนแข็งแรง  อนุลักษณ์ต้นไม่ใหญ่ที่มีอยู่ในบริเวณ  เช่น  ต้นโพธิ์  ต้นไทร  ต้นชงโค
3.  จัดพื้นที่ของสวนให้เป็นพื้นที่โล่งกว้างมากที่สุด  โดให้ที่โล่งเป็นลานพักผ่อน  ปลูกไม้เลื้อยคลุมซุ้มทางเดิน  เพื่อสนองความต้องการของประชาชนที่อาสักอยู่ในบริเวณที่แออัด
4.  เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพันธุ์พฤกษชาติของต้นไม้และดอกไม้ใบนานชนิด
5.  จัดวางระเบียบการสัญจรไปมาในสวนสาธารณะให้ประชาชนใช้ได้โดยสะดวก


สถานที่ตั้ง
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600
โทร : 0-2437-7799, 0-2439-0902
โทรสาร : 0-2437-1853
การเดินทาง
รถประจำทางที่ผ่าน / Bus No : สาย 6, 42, 43
ทางเรือ (เฉพาะเรือท่องเที่ยว) : ขึ้นที่ท่าเรือศาลาทรงจีน (ศาลเจ้าพ่อกวนอู)
By Chao Phraya Tourist Boat - at The Princess Mother Memmorial Park Pier
การเยี่ยมชม
ภายในอุทยานฯ เปิด 06.00-18.00 น. ทุกวัน
พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เปิด 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
มุมหนังสือ เปิดเวลา  08.30-16.30  น.  ( หยุดวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ )
***สำหรับการเข้าชมนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย แต่สำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ที่มีความประสงค์เยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ จะมีวิทยากรบรรยายและนำชมสถานที่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น